วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Thai Architect in the world stage

สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ (Suriya Umpansiriratana)
“การที่เรากราบพระแต่ละครั้ง นั่นคือเรากราบดิน กราบภูเขา ต้นไม้”
Text by Weerawouth Hransombat
ผมและเพื่อนนักเขียน (จักรสิน น้อยไร่ภูมิ) ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 'คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์' เพื่อเขียนเป็นบทสัมภาษณ์ลงใน B-1 Magazine โดยล่าสุดคุณสุริยะก็ได้รับรางวัลระดับนานาชาติอย่าง 'WA Awards 20+10+X' ซึ่งจัดโดย worldarchitecture.org ในโปรเจ็คต์ 'Circle monks cell' นั่นไม่ผิดเลยที่ผมเคยทิ้งท้ายในบทสัมถาษณ์คราวนั้นไว้ว่า "เชื่อว่าในโอกาสต่อไปเราก็จะได้เห็นงานของคุณสุริยะปรากฏออกมาเรื่อยๆ ตามหน้าแมกกาซีนและเว็บไซต์ต่างๆ" ผมจึงขอหยิบยกบางคำถามในการพูดคุยกันในวันนั้นมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย พี่สุริยะมีมุมมองอย่างไรครับ อะไรไทย ไม่ไทย และจริงๆ ไทยควรเป็นอย่างไร?

สุริยะ: มันตอบยากนะ แต่ถ้าจะให้พูดแบบกวนๆ น่ะได้ คือเราก็ไม่ต้องคิดมันหรอก แค่เราทำให้มันเป็นธรรมชาติ มันก็เป็นไทย เรารู้สึกว่า ช่างบ้านเรามีใคร เราก็ทำ วัสดุเรามีอะไร เราก็ทำแบบนั้น มันก็ออกมาเป็นสัญชาตญาณของมันเอง เป็นธรรมชาติของมันเอง ถ้าเราไปออกแบบหวือหวา เดี๋ยวช่างเขาจะรู้สึกกระเดียดไป

บรรยากาศการพูดคุยกันในถ้ำของคุณสุริยะทำให้เราได้สัมผัสกับอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งจากตัวตนที่ดิบๆ ของเขา ในบรรยากาศที่อึมครึม ซึ่งคุณสุริยะก็บอกกับเราว่า เขาจะไม่จัดแสงให้สว่างจนเปลวเทียนไร้ความหมาย และไอเดียหลายๆ อย่างที่เราเห็นและสัมผัสต่างก็เกี่ยวโยงกันดังปรัชญา ‘ปฏิจจสมุปบาท’

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น