วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Maritime Cultural and Popular Music Center

The spanish architecture firm MADE IN wins the Maritime Cultural and Popular Music Center internacional competition, situated in the taiwanese city of Kaohsiung.
Image courtesy of MADE IN/ Text by MADE IN
The spanish firm MADE IN was proclamated last Tuesday, 18 of January, winner of the internacional architecture competition Maritime Cultural and Popular Music Center  wich will be due to construction in the next few years in the taiwanese city of Kaohsiung. The project turns out to be one the most important, developed by an spanish team in the internacional sphere, with a surface of  100.000 square meters and a budget of 100 million of euros. It contains two auditoriums, one exterior wich will acomódate 12,000 people and an interior one with 3.500 seats. Also in addition a marine museum, a music museum, a 24/7 open market and finally 8 smaller auditoriums of polivalent use. This creates an heterogenic proposal where different buildings and public spaces articulates the bay area of the Love River, integrating the essential aspects of taiwanese culture.

From the first moment the project caught the attention of the jury that selected it, althow with certain doubts since it appears, it was “too risky”. Finally, the quantity and quality of the work preseted and the solutions that where proposed not only refered to programme but for the urbanistic integration, made it posible to win the first prize. In the near future the Maritime Cultural and Popular Music Center of Kaohsiung will be builted in 3 ore 4 years, and will held the spanish signature.

MADE IN team has been created by Manuel Alvarez Monteserin and Beatriz Pachón expessly for this competition with the collaboration of the architects, Javier Simó, Andrés Infantes, Lain Satrustegui, Antonio Alejandro and the experience of the firm Corona and P.Amaral Architects, authors of the Terminal of the Airport Nort of Tenerife, also the support of the Studio Leon 11 with bases in Madrid. Alter been selected in the first phase of the competition, MADE IN associated with HOY Architects, a Taiwanese firm and various well known internacional consultants such as ARUP (instalations), BOMA (structures) and XU Acoustics (acustics) between others.

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Architect Expo 2011

Architect '11 & Build Tech '11

Text by Weerawouth Hransombat / Photo by คุณเก่ง ห้วยแถลง (คุณเก่ง) / Feed Me / My facebook / Tweets me
“เล็กๆ ...เปลี่ยนโลก BOTTOM UP” งานสถาปนิก ’54 เริ่มวันที่ 8 – 13 กุมภาพันธ์นี้แล้ว ที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งครั้งนี้มาในธีม ‘BOTTOM UP’ ที่จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้งหมดที่จะเชื่อมโยงไปจนถึงส่วนบนสุดของโครงสร้างทางสังคม จากสิ่งเล็กๆ ที่จะกระทบในวงกว้าง เปรียบได้กับเมล็ดพันธุ์พืชที่เริ่มจากเล็กๆ จนกระทั่งเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ในที่สุด โดยภายในงานเราก็จะได้พบกับนิทรรศการและงานสัมนาจากสถาปนิกที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน แต่ละสาขาที่จะมาปลูกเมล็ดพันธุ์ร่วมกันเช่นเคย ซึ่งก็ต้องจับตามมองให้ดีว่าจะมีอะไรปรับเปลี่ยนโลกได้บ้าง …และเกาะติดกันต่อเนื่องกับอีกหนึ่งอีเว้นท์อย่าง "Build Tech '11" วันที่ 3 - 8 พฤษภาคม ที่อิมแพค เมืองทองธานี เช่นกัน ...สองงานนี้ถือว่าผู้ชมได้กำไร ...แล้วใครขาดทุนล่ะ!!?

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Singapore

Text by Weerawouth Hransombat / Feed Me
ในขณะที่บ้านเรายังไม่ได้เปิดเสรีให้สถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect) เข้ามาทำงานในประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือ คาดการณ์และมองโมเดลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อวันนั้นมาถึง ว่ากันแบบง่ายๆ และใกล้ๆ ตัว อย่างในประเทศสิงค์โปร เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน กับโครงการระดับที่จะผลิกโฉมหน้าของพวกเขาอย่าง ‘มารีน่า เบย์ แซนด์ส’ (Marina Bay Sands - MBS) ซึ่งโปรเจ็คต์นี้ก็ได้สถาปนิกต่างชาติแถมมีชื่อฉกาจอย่าง ‘Moshe Safdie’ และยังดึง know-how มาให้ local architect อย่าง ‘Aedas Singapore’ ศึกษาเรียนรู้ และเมื่อถึงวันที่บ้านเราเปิดเสรีบ้าง โปรเจ็คต์ใหญ่ๆ ที่มีนายทุนมาจากต่างประเทศก็น่าจะมาในรูปแบบนี้ และนั่นก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีซึ่งเราจะได้เรียนรู้ know-how จากสถาปนิกต่างชาติอย่างเปิดเผยเช่นกัน 

มาถึงวันนี้ ประเทศที่ถือว่าเป็นคู่ปรับคนสำคัญของไทยอย่างสิงคโปร์อาจจะก้าวไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวที่จะเป็นศูนย์กลางทางด้านการออกแบบ ซึ่งพวกเขาทำงานแบบมีขั้นมีตอน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2002 แล้วด้วยซ้ำ ในขณะที่บ้านเรายังกล้าๆ กลัวๆ และมัวแต่มีศึกทั้งใน และนอกบ้านอยู่เนืองๆ ส่งผลให้เป้าหมายที่สิงคโปร์จะเป็นศูนย์กลางด้านงานออกแบบระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงอยู่ไม่ไกลนัก เนื่องด้วยความมีระบบระเบียบที่เราเองต่างก็ยกนิ้วให้พวกเขาอย่างไม่ลังเลใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาดของบ้านเมือง รวมไปถึงสภาวะทางการเมืองที่มั่นคง ซึ่งเครดิตทั้งหมดนี้อาจจะต้องยกให้ ‘นายลี กวนยู’ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์ ที่นำประเทศสู่นานาอารยะ


กล้องโลโม่ = LOMO กล้อง ฟิชอาย รุ่น1 ถ่ายรูปแนวๆ ต้องนี่!!

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Thai Architect in the world stage

สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ (Suriya Umpansiriratana)
“การที่เรากราบพระแต่ละครั้ง นั่นคือเรากราบดิน กราบภูเขา ต้นไม้”
Text by Weerawouth Hransombat
ผมและเพื่อนนักเขียน (จักรสิน น้อยไร่ภูมิ) ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 'คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์' เพื่อเขียนเป็นบทสัมภาษณ์ลงใน B-1 Magazine โดยล่าสุดคุณสุริยะก็ได้รับรางวัลระดับนานาชาติอย่าง 'WA Awards 20+10+X' ซึ่งจัดโดย worldarchitecture.org ในโปรเจ็คต์ 'Circle monks cell' นั่นไม่ผิดเลยที่ผมเคยทิ้งท้ายในบทสัมถาษณ์คราวนั้นไว้ว่า "เชื่อว่าในโอกาสต่อไปเราก็จะได้เห็นงานของคุณสุริยะปรากฏออกมาเรื่อยๆ ตามหน้าแมกกาซีนและเว็บไซต์ต่างๆ" ผมจึงขอหยิบยกบางคำถามในการพูดคุยกันในวันนั้นมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย พี่สุริยะมีมุมมองอย่างไรครับ อะไรไทย ไม่ไทย และจริงๆ ไทยควรเป็นอย่างไร?

สุริยะ: มันตอบยากนะ แต่ถ้าจะให้พูดแบบกวนๆ น่ะได้ คือเราก็ไม่ต้องคิดมันหรอก แค่เราทำให้มันเป็นธรรมชาติ มันก็เป็นไทย เรารู้สึกว่า ช่างบ้านเรามีใคร เราก็ทำ วัสดุเรามีอะไร เราก็ทำแบบนั้น มันก็ออกมาเป็นสัญชาตญาณของมันเอง เป็นธรรมชาติของมันเอง ถ้าเราไปออกแบบหวือหวา เดี๋ยวช่างเขาจะรู้สึกกระเดียดไป

บรรยากาศการพูดคุยกันในถ้ำของคุณสุริยะทำให้เราได้สัมผัสกับอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งจากตัวตนที่ดิบๆ ของเขา ในบรรยากาศที่อึมครึม ซึ่งคุณสุริยะก็บอกกับเราว่า เขาจะไม่จัดแสงให้สว่างจนเปลวเทียนไร้ความหมาย และไอเดียหลายๆ อย่างที่เราเห็นและสัมผัสต่างก็เกี่ยวโยงกันดังปรัชญา ‘ปฏิจจสมุปบาท’

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

INTERVIEW



Photo by Etabo Piggius


Bangkok Eye


Text by Weerawouth Hransombat / Feed Me
แว่วเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ‘Bangkok Eye’ ทันทีเมื่อกทม. ดำริเรื่องนี้ขึ้น ในงบประมาณกว่า 3 หมื่นล้านบาท! และด้วยความสูงถึง 176 ม. ซึ่งถือว่าเป็นวงล้อมหัศจรรย์ที่จะสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะนั่นสูงกว่า ‘London Eye’ ถึง 41 ม. และเหนือกว่า ‘Singapore Flyer’ ถึง 11 ม. แน่นอนว่า โครงการนี้มี case study มาจาก ‘London Eye’ อย่างไม่ต้องสงสัย และคงไม่บังเอิญที่เจ้าของชิงช้าชมเมืองที่กรุงลอนดอนนั่นจะเป็นเจ้าของคนเดียวกันที่จะมาสร้างดวงตาใหม่ให้กับกรุงเทพฯ ของเรา ซึ่งนี่อาจจะเป็น “เหล้าเก่าในขวดใหม่” ของพวกเขา ส่วนกทม. ของเราก็คงต้องเช็ดล้างขวดเพื่อรอเหล้าไปพลางๆ


Anti-lost==เครื่องกันของหาย พวงกุญแจ ป้องกันการขี้ลืม คอยเตือนเพื่อรักษาทรัพย์สินของท่าน